Hmong History

History of the Hmong – A Timeline

Prehistory
There are conflicting stories about early Hmong history. Some evidence shows that the Hmong originated in Siberia, with pale or white skin and blonde hair. Oral history makes reference to frozen lakes and wearing furs. The language, however, is clearly linked to Chinese.

B.C. to 400 A.D.
The first firm historical accounts can be traced back to the Hmong in China. Many wars and uprisings were noted in early centuries. In response, the Hmong began constant movement within China to maintain freedom and preserve their culture. Some Chinese Dynasties welcomed the Hmong; most tried to enslave them. The term Hmong came into use, often translated as meaning free or free people. Folktales developed during this time and have been orally recited ever since, passing from generation to generation.

 400 - 900
A Hmong Kingdom was established in China with a hereditary monarchy. The kingdom included very organized villages and districts. Only the rulers and men voted. The Hmong were involved in Chinese rule until they were defeated by the Sung dynasty. They then returned to their nomadic existence.

900
In different locations within China, the Hmong continued to fight and struggle for independence. This time also included many years of peace.

1800
The Hmong were lured to northern Laos by rich, fertile land and the promise of freedom in the seclusion of the  Laotian mountains. Ten villages were established in a few years.

1815
Friendly relations were enjoyed with neighboring villages during this time. Opium was grown as the only cash crop.

1893
Laos fell to French rule. Many Hmong supported the French, others did not.

1940
France surrendered to the Nazis.

1949
Laos gained independence. The national symbol of Laos, displayed on its flag, is that of a three-headed elephant with a white parasol on a five-step platform. The elephant signifies the three 16th century kingdoms of Laos; the parasol is a symbol of royalty; and the five steps of the platform stand for five commandments of Buddhism that outlaw: killing, stealing, lying, adultery, and abuse of alcohol.

1950
Vang Pao, a famous Hmong military officer was assigned to spy for the French.

1960
The American CIA spoke with Vang Pao to enlist his support in their fight against the Vietnamese communists. In return for Hmong assistance, they would provide arms, training, and food. The half million Hmong living in Laos at that time were organized solely by clans. Since there was no means of mass communication, Vang Pao trekked into the mountains to talk to the leaders. For their part, the Americans promised rice and salt, and vowed to end communist  rule.

1964
Vang Pao was named a General in the Royal Lao Army in 1964. About 30,000 Hmong people fought against the Vietnamese, being paid an average 10 cents a day and the promise of being taken care of by the U.S. government.

1975
The war ended and the Americans pulled out of Southeast Asia. 17,000 Hmong soldiers were killed. 5,000 Hmong civilians perished as well. Vang Pao was ordered by the CIA to leave Laos. The Pathet Lao (communists) began reeducating Hmong - often in concentration camps. In retaliation for their support of the Americans, the communist Lao waged chemical warfare against the Hmong. Many Hmong fled for their lives to Thailand. 100,000 Hmong were killed.

1980
Another 100,000 Hmong fled to Thailand. Some stayed in refugee camps up to ten years. Eventually, most were resettled in France and the U.S. Since the closing of the refugee camps in 1995, thousands have returned to Laos where there are continuing reports of torture and abuse. A few thousand Hmong people remain in Thailand.

Hmong in America: 2007
According to the 2000 census, approximately 170,000 foreign-born Hmong live in the United States. Many more have  arrived since then. Today, besides the foreign-born, there are second and third generation Hmong Americans. The majority reside in Minneapolis/St. Paul, MN; Fresno, CA; and Milwaukee, WI.


Read more on www.laofamily.org


ประวัติศาสตร์ชนชาติม้ง 

เปิดตำนานประวัติศาสตร์ชนชาติม้งที่ซ่อนเร้นมากว่า 5,000 ปี

หากคุณเป็นผู้หนึ่ง ที่เป็นชาวม้งด้วยแล้ว อย่าพลาดอ่านเรื่องราวที่ปรากฏเบื้องหน้าของคุณขณะนี้……….ก่อนที่คุณจะพบคำว่าเสียใจ เพราะคุณจะไม่รู้ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเองเลยทีเดียวเชียว … เอาล่ะ .. นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ขอเปิดตำนานประวัติศาสตร์ชนชาติม้ง ที่ซ่อนเร้นมากว่า 5,000 ปี ให้ทราบกัน

ผู้เขียนไม่ได้ไปค้นคว้าเส้นทางตำนานของบรรพบุรุษชนชาติม้งเอง แต่แปลจากตำนานประวัติศาสตร์ ชนชาติม้งที่ซ่อนเร้นมากว่า 5,000 ปี ของ อาจารย์ยื่อเพ่ง ซ่ง (Ywj Pheej Xyooj) และคณะจากสหรัฐอเมริกา ที่ได้ดั้นด้นค้นหามานาน จนได้หลักฐานจำนวนมากมาย และได้จัดทำเป็นสารคดีเผยแพร่ให้ผู้สนใจทราบดังนี้

หลายครา…..ที่ชาวม้งมักถามตัวเองว่า ฉันเป็นใคร… และตอบตนเองว่า ฉันคือม้ง… และ ม้งคือใคร… แล้วม้งมีประวัติความเป็นไปเป็นมาอย่างชนชาติอื่นหรือไม่ ? … แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ที่แสดงว่าเป็นชนชาติม้งมีหรือไม่อยู่ในโลกใบนี้ วันนี้เริ่มต้นค้นหาตามสถานที่ ที่บรรพบุรุษม้งเคยอาศัยมาก่อน รวมทั้งเส้นทางอพยพของชาวม้ง นั่นคือ ประเทศจีนในปัจจุบัน…………อันดับแรกเริ่มต้นที่ชุมชนชาวม้งโบราณ ที่คนม้งเคยอาศัยอยู่มาก่อน คือ ชุมชนจั๊วะลู่ (Tsuab Luj) อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเป้เจ๊ง (เมืองหนึ่งในประเทศจีน) ตามตำนาน และประวัติศาสตร์จีนกล่าวไว้ประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว

ม้ง คือ ชนชาติที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในแผ่นดินนี้ ผืนดินตรงนี้ได้สับเปลี่ยนเจ้าของไปมาหลายครั้งหลายครา จนปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนไปแล้ว มีอาจารย์หลายท่านเคยค้นคว้าและพบว่า ม้ง เป็นชนชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนชนชาติจีน แต่ต่อมา ชาวม้งถูกชาวจีนรุกรานทำลายล้างจนม้งกลายเป็นชนชาติที่ล้าหลัง และยากจนที่สุด แต่สิ่งหนึ่งที่เหลืออยู่คือ ยังไม่สูญพันธุ์จากโลกนี้เท่านั้น แผนที่ประเทศจีนปัจจุบันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชีย แต่มีประชากรมากที่สุด และในบรรดาประชากรเหล่านี้เป็นชนเผ่าต่าง ๆ อีก 55 ชนเผ่ารวมอยู่ด้วย ในปี ค.ศ. 1990 ประเทศจีนมีประชากร 1 ใน 6 ของประชากรโลก เป็นประชาชนจีน ร้อยละ 92 อีก ร้อยละ 8 เป็นประชากรชนเผ่าจาก 55 ชนเผ่า หรือประมาณ 108 ล้านคน

ปัจจุบันแผนที่ประเทศจีนมีขอบเขตของประเทศที่ชัดเจน แต่หากย้อนไปเมื่อหลายพันปีก่อน เราจะเห็นว่าผืนแผ่นดินจีนแห่งนี้ เป็นแผ่นดินของหลายประเทศรวมกันมาก่อน ประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว บรรพบุรุษชาวม้งอยู่เมืองจั๊วะลู่ อยู่ห่างจากเมืองเป้เจ๊ง 75 ไมล์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้นำม้ง หรือเจ้าเมืองในเมืองจั๊วะลู่ คือ จือโหย่ ( CHI YOU ) Txwv Yaum หรือ Txwv Yawg ประชาชนของจือโหย่ จะสวมเขาควายคู่หนึ่งบนศรีษะเป็นสัญลักษณ์ เพราะควายในขณะนั้น เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างมาก ส่วนตอนเหนือ และทางตะวันตกของเมืองจั๊วะลู่ เป็นเมืองของชาวจีนถึง 2 เมือง มีผู้นำ คือ หวงตี้ และ แหยงตี้

อาจารย์ลื่นฉางหัว เป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ม้งเช่นกัน กล่าวว่า เมืองของหวงตี้ แหยงตี้ และ จือโหย่อยู่ในลักษณะรูป 3 เหลี่ยม โดยเมืองของจือโหย่ อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเมืองของหวงตี้อยู่ทางเหนือ กับแหยงตี้อยู่ทางใต้ เมืองทั้ง 3 อยู่ใกล้เคียงกัน โดยห่างกันปรัมาณ 2 ไมล์ ระหว่างนั้น หวงตี้ แหยงตี้ และ จือโหย่ ได้เปิดสงครามกันหลายครั้ง เหตุเพราะแย่งชิงดินแดน และที่ทำกิน รบรากันหลายสิบปี จั๊วะลู่ (Tsuab Luj) มีเขาล้อมรอบ ส่วนบนยอดเขามีที่ราบขนาดใหญ่ จือโหย่ใช้เป็นสนามซ้อมรบของนักรบ ส่วนด้านล่างเป็นร่องน้ำธรรมชาติ ที่ลึกและชัน ล้อมรอบบริเวณเขาจากทางเหนือมาทางตะวันตก ส่วนด้านใต้เป็นเมืองจั๊วะลู่ เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน

ตามตำนานกล่าวไว้ว่า หวงตี้ ไม่เคยรบชนะจือโหย่ เลย แหยงตี้ก็เช่นกัน เหตุที่จือโหย่มีความสามารถเอาชนะทั้งสองได้ตลอด เพราะช่วงเวลานั้น ทั้งสองรู้เพียงการนำไฟ และก้อนหินมาเป็นอาวุธในการสู้รบเท่านั้น ต่างกับจือโหย่ ที่สามารถนำเหล็กมาทำเป็นอาวุธช่วยในการสู้รบแล้ว ..

เรื่องราวกำลังชวนติดตาม แต่ไว้ตอนหน้าไปตามหาร่องรอยการสู้รบ แบบน้ำเดือดเลือดพล่านกันต่อของนักรบชนชาติม้ง กับ ยื่อเพ่งซ่ง นักค้นคว้าจากอเมริกา และแปลโดย..โดมดอย ที่นอกจากจือโหย่ แล้ว ยังมีวีรบุรุษ วีรสตรี อีกมากมาย เช่น วีรบุรุษวื่อป้าเยีย ( Vwj Paj Yias) วีรบุรุษสือเหลียวติ้ง(Swv Lim Teej) วีรบุรุษสือซ้างเป่า (Tswv Xaab Pov) วีรบุรุษวื่อเทียนปั้น (Vwj Theeb Paaj) รวมถึงวีรสตรี ซ่งมอหมิ (Xyooj Mog Mim) ผู้เป็นบรรพบุรุษชาวม้ง ดวงวิญญาณของพวกท่านเหล่านั้น กำลังรอคอยวันที่ลูกหลานชาวม้งทั่วโลก ไปค้นคว้า หาความจริงมาให้ชาวโลกได้รับรู้ ถึงความยิ่งใหญ่ของพวกท่านเมื่อกว่า 5,000 ปีมาแล้ว
ประชากรชนชาติม้ง(Hmong-Miao)ในประเทศจีน

ชนชาติม้งในประเทศจีนมีประชากรมากเป็นอันดับที่5ของบรรดาชนชาติต่างๆในประเทศจีน อันดับต้นๆเลยก็จะเป็นชนชาติฮั่นเเละเเมนจูมี 1,200 ล้านคน รองลงมาก็จะเป็น ชนชาติจ้วงเเละหุย 9 ล้านกว่าคน ชนชาติม้งหรือชนชาติแม้วมีประชากรประมาณ 8.94 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนาน มณฑลเสฉวน เขตกวางสี มณฑลหูเป่ย มณฑลหูหนานและมณฑลกว่างตุ้งเป็นต้น ชนชาติม้งใช้ภาษาม้ง ซึ่งสังกัดอยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต เมื่อก่อน ชนชาติม้งไม่มีตัวหนังสือที่เป็นเอ...กภาพ ค.ศ.1956 ชนชาติม้งได้สร้างหรือตัดแปลงตัวหนังสือผสมเสียงแบบลาตินเพื่อรวมภาษาถิ่น 4 ชนิดเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงได้ก่อรูปเป็นตัวหนังสือชนชาติม้งที่เป็นเอกภาพ ชนชาติม้งนับเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่สุดของจีนชนชาติหนึ่ง หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์เมื่อ 4000 กว่าปีก่อนก็เคยบันทึกประวัติศาสตร์ของชนชาติม้ง ในเทพนิยายโบราณ เล่ากันว่าชืออิว(chiyou)ที่เคยสู้รบกับกษัตริย์หวงตี้ กษัตริย์หยานตี้เป็นบรรพบุรุษและเป็นที่เคารพนับถือของชนชาติม้ง ด้วยสาเหตุชนิดต่างๆเช่นสงคราม การขาดแคลนอาหาร โรคภัยไข้เจ็บตลอดจนการมีลูกมาก ไร่นารกร้างว่างเปล่าเป็นต้น ทำให้ชนชาติม้งต้องอพยพอย่างเคลื่อนย้ายตลอดเวลา และกระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆอย่างกว้างขวาง ภายในชนชาติม้งเอง จึงมีความแตกต่างอย่างมากในด้านต่างๆเช่นสำเนียงภาษา เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับหัว ประเพณีเป็นต้น ชาวชนชาติม้งที่อาศัยอยู่ในท้องที่ต่างๆมีคำเรียกตนเองต่างๆกันไป ถ้าแบ่งตากความแตกต่างในด้านเสื้อผ้าอาภรณ์ ชนชาติม้งแบ่งได้เป็น”ม้งกระโปร่งยาว” “ม้งกระโปร่งสั้น” “ม้งเขายาว” “ม้งแดง” “ม้งดำ”เป็นต้น ชนชาติม้งส่วนใหญ่นับถือศาสนาเก่าแก่ที่ถือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกก็ล้วนมีวิญญาณ ชนชาติม้งเพาะปลูกข้าวเจ้าและข้าวโพดเป็นสำคัญ และยังเพาะปลูกต้นน้ำมันถง(Aleurites montana) ผักน้ำมัน(Brassica napus)เป็นต้น นอกจากนี้ ยังปลูกสมุนไพรที่มีค่าเช่นเถียนชี(Panax Pseudoginseng Wall) เทียนหมา(Gastrodia elata BIK)และตู้จุ้ง(Eucommia ulmoides Ol)เป็นต้นด้วย
ที่มา เนื้อหาเเละข้อมูลจาก CHAINA ABC

No comments:

Post a Comment